GI Wakayama Umeshu
- jinnysales
- Mar 21
- 1 min read
อูเมะชูเหมือนไวน์หรือไม่? ที่มีการบ่งชี้อัตลักษณ์แหล่งผลิต (Geogarphical Idicators) อย่างแชมเปญที่จะต้องมาจากแคว้นแชมเปญเท่านั้น ถ้าผลิตในที่อื่นต้องถูกเรียกว่าสปาร์คกลิ้งไวน์ แม้ว่าจะใช้พันธุ์องุ่นและกรรมวิธีการผลิตเดียวกันก็ตาม หรือในโลกของสุรากลั่นอย่างเตกีล่า ที่หากจะใช้ชื่อนี้ได้ ต้องถูกผลิตในประเทศเม็กซิโก และใช้บูลอากาเว่ (Blue Agave) เป็นวัตถุดิบหลักเท่านั้น

อูเมะชูที่ได้รับการรับรองตรา GI Wakayama ต้องถูกผลิตในจังหวัดวากายามะเท่านั้น
แต่ไม่ใช่อูเมะชูทุกตัวของจังหวัดที่ได้รับตราสัญลักษณ์นี้
ตรา GI Wakayama มีไว้เพื่อรับรองอูเมะชูที่ได้มาตราฐาน มีกรรมวิถีผลิตแบบธรรมชาติ เพื่อให้อูเมะชูสามารถสะท้อนเอกลักษณ์ของบ๊วยจังหวัดวากายามะได้อย่างชัดเจนที่สุด
พรำพลัมมีพันธกิจ ในการช่วยเหลือลูกค้าเสาะแสวงหาอูเมะชูและเหล้าผลไม้ใหม่ๆ
เป็นเหมือนเพื่อนนักเดินทางที่คอยช่วยเหลือซัพพอรท์ ทำให้ลูกค้าสามารถท่องไปในจักรวาลของอูเมะชูด้วยความมั่นใจ และเพลิดเพลินไปกับทุกประสบการณ์อย่างไม่ต้องกลัวหลงทาง
นอกจากความเพลิดเพลินจากอรรถรสแล้ว พรำพลัมยังเสาะหาอูเมะชูที่เป็นเลิศเทียบเท่าเครื่องดื่ม
ในสากลอื่นๆ อย่าง ไวน์ หรือ วิสกี้ ที่สามารถสะท้อนคุณค่าของแหล่งผลิตออกมาได้อย่างชัดเจน
ตรา GI Wakayama เป็นความพยายามล่าสุดของประเทศญี่ปุ่น ในการกำหนดมาตราฐานกลางที่ช่วยการันตีอูเมะชูที่สะท้อนอัตลักษณ์คุณค่าของจังหวัดวากายามะ
นับแต่ปี ค.ศ. 2020 เป็นต้นมาก หน่วยงาน National Tax ได้เพิ่มตรา GI Wakayama เพิ่มเข้าไปในรายการของ GI ประเทศญี่ปุ่น เป็นลำดับที่ 13 จากทั้งหมด 14 รายการ อูเมะชูที่จะได้รับการรับรอง ต้องมีคุณลักษณ์ที่เข้าเกณฑ์ข้อกำหนดต่างๆ โดยมีหลักเกณฑ์นี้ มีข้อพิจารณาสำคัญแบ่งเป็นสามหมวดคือ
วัตถุดิบ, สถานที่ผลิต, และกรรมวิธี ซึ่งสามารถสรุปความหลักเกณฑ์ทั้งหมดได้ดังนี้
อูเมะชูที่รับการรับรองต้องเป็นอูเมะชูที่ผลิตในจังหวัดวากายามะ และต้องใช้บ๊วยที่ปลูกในจังหวัด ที่มีลักษณะพันธุ์และวิธีการเก็บเกี่ยวตรงตามมาตราฐานที่กำหนด วัตถุดิบอื่นๆที่อนุโลมให้ใช้ มีเพียงน้ำบ๊วยที่คั้นจากผลบ๊วย (Ume Juice) หรือเนื้อบ๊วยบด (Ume Paste) เท่านั้น ในกระบวนการผลิต ยังต้องสะท้อนกรรมวิถีดองอูเมะชูตามธรรมชาติ ห้ามใช้แรงกดใดๆบนผลบ๊วยที่ใช้ดอง และต้องมีระยะเวลาในการดองอย่างน้อย 90 วัน
แหล่งผลิต มีผลต่อคุณภาพอูเมะชูขนาดไหน?
การที่แหล่งผลิตอูเมะชูอยู่ในบริเวณเดียวกับสวนบ๊วย (บางแห่งอยู่ท่ามกลางสวนบ๊วย) เป็นข้อได้เปรียบอย่างมาก ผู้ผลิตสามารถติดตามคุณภาพของวัตถุดิบได้อย่างใกล้ชิด โดยไม่มีข้อจำกัดเรื่องระยะเวลาและระยะทางที่ใช้ในการขนส่งบ๊วยข้ามพื้นที่ ผู้ผลิตสามารถเก็บเกี่ยวบ๊วยแล้วนำมาเข้าสู่กระบวนการทำอูเมะชูได้ทันที เอกลักษณ์ของกลิ่นและรสชาติของบ๊วยจึงถูกเก็บกักไว้โหลอูเมะชูได้อย่างสมบูรณ์ ไม่ตกหล่นระหว่างทาง :)
จากผลบ๊วยบนกิ่งจนถึงขวดบรรจุ รายละเอียดกลิ่นและรสชาติที่ถูกรักษาไว้อย่างสมบูรณ์ เป็นเหมือนสำเนียงเฉพาะท้องถื่น ที่สะท้อนสภาพดินฟ้าอากาศอันเหมาะสมของแหล่งปลูก และเป็ยสิ่งชี้ขาดระหว่างอูเมะชูที่ดีจากแหล่งอื่นๆกับสุดยอดอูเมะชูของจังหวัดวากายามะ
ปัจจุบันพรำพลัมนำเข้าอูเมะชูที่ได้รับ GI Wakayama มาทั้งหมด 19 ตัวเลยค่ะ

PRUMPLUM's Exclusive GI Wakayama Umeshu
B Umeshu
Shokibai Umeshu
Umeta Umeshu
Binchotan Umeshu
Premium Kishu roman Umeshu
Kishu roman Umeshu
Kin-no Suzu Umeshu
Gin-no Suzu Umeshu
Kumahei Umeshu
Morikawa Umeshu
Plumity White Umeshu
Plumity Black Umeshu
Ryu Umeshu
Zipang Umeshu
Haruhime Nigori Umeshu
Akatsuki Umeshu
Godaian Original Umeshu
Godaian Hinoesaru Umeshu
Takada Umeshu
Umeshu Flavor Map Vol. 2 by GI Wakayama Japan
ดูเพิ่มเติม:
[รายละเอียดของหลักเกณฑ์การรับรองตรา GI WAKAYAMA] https://www.nta.go.jp/english/taxes/liquor_administration/02_11.htm
[รายชื่ออูเมะชูล่าสุด ที่ได้รับการรับรองตรา GI WAKAYAMA]
[ข้อมูลภาพรวมข้อ GI Japan ทั้งหมด 14 พื้นที่ อัพเดทเมื่อ JAN 2021]
Comments